หน้าแรก blog ภัยเงียบของน้องหมา..โรคพยาธิเม็ดเลือดในสุนัข

สัปเพเหระ เรื่องหมาๆแมวๆ

picexx01

 

 

 

โรคพยาธิเม็ดเลือดในสุนัขเป็นโรคที่เกิดจากเชื้อริกเกตเซีย ซึ่งสามารถพบได้ทั้งในเม็ดเลือดแดง คือ Babesia spp. และเม็ดเลือดขาว คือ Ehrlichia spp. และ Hepatozoon spp. โดยมีเห็บเป็นพาหะ Ehrlichia spp. สามารถพบได้ในสุนัขทุกเพศทุกพันธุ์ ทุกวัย เมื่อเห็บดูดเลือดของสุนัขที่มีเชื้อ E. canis เข้าไป เชื้อจะติดผ่านทางน้ำลาย เมื่อเห็บตัวนี้ไปกินเลือดสุนัขอีกตัว สุนัขตัวนั้นก็จะติดเชื้อไปด้วย เมื่อเชื้อเข้าไปในร่างกายสุนัขแล้ว เชื้อจะเข้าไปอยู่ในเม็ดเลือดขาวกระจายตัวสู่อวัยวะต่าง ๆ

อาการที่พบมี 2 ระยะคือ แบบเฉียบพลัน และเรื้อรังแบบเฉียบพลัน สุนัขจะมีไข้สูงซึม เบื่ออาหาร บางตัวพบว่าเลือดกำเดาไหล พบจุดเลือดออกตามตัว ในสุนัขที่แข็งแรงร่างกายอาจพัฒนาภูมิคุ้มกันมาทำลายเชื้อเอง แต่ถ้าภูมิคุ้มกันไม่ดี พอเชื้อพยาธิเม็ดเลือดจะพัฒนาเข้าสู่อาการแบบเรื้อรัง ซึ่งจะมีอาการรุนแรงตั้งแต่ ซึม มีไข้สูง เลือดกำเดาไหลมาก ปัสสาวะเป็นเลือด หายใจลำบาก จนถึงไขกระดูกทำงานบกพร่อง ภูมิคุ้มกันทำลายตัวเอง ทำให้โลหิตจาง เม็ดเลือดขาวและเกล็ดเลือดต่ำ ไตวาย ตับอักเสบเยื่อหุ้มสมองอักเสบ และนำไปสู่การเสียชีวิตได้

Eabesia spp. เป็นชนิดที่อยู่ในเม็ดเลือดแดง พบว่าในลูกสุนัขจะแสดงอาการรุนแรงกว่าสุนัขโต อาการที่พบบ่อย เช่น ไข้สูง โลหิตจาง ซึม เบื่ออาหาร ในรายที่รุนแรง บริเวณเยื่อเมือก ใบหู จะซีดเหลือง ปัสสาวะเป็นส้ม แดง หรือน้ำตาล เนื่องจากมีการแตกของเม็ดเลือดแดง ตับ ม้ามโต บางรายมีอาการทางประสาท

Hepatozoon spp. ชนิดนี้เกิดจากสุนัขกินเห็บเข้าไป อาการที่แสดงออกมักไม่ชัดเจน เช่น เจ็บปวด กล้ามเนื้อ การเดนิผิดปกติ มีน้ำมูก น้ำตา ท้องเสีย เบื่ออาหาร กินน้ำมาก ปัสสาวะมาก ปอดผิดปกติ นอกจากนี้ hepatozoon ยังถ่ายทอดจากแม่สู่ลูกขณะตั้งครรภ์ได้อีกด้วย

การรักษา

ถ้าตรวจพบทันท่วงที สัตวแพทย์จะให้ยาฆ่าพยาธิเม็ดเลือด ร่วมกับการรักษาตามอาการ เพื่อควบคุมภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้น

สำหรับการรักษาก็จะแยกไปตามชนิดของเชื้อ หากน้องหมาป่วยด้วยเชื้อออร์ลิเชียคุณหมอจะฉีดยาหรือจ่ายยาในกลุ่ม tetracycline ให้ป้อนกินติดต่อกันอย่างน้อย 21-28 วัน ร่วมกับการรักษาตามอาการ เช่น หากมีภาวะโลหิตจางก็ต้องให้ยาบำรุงเลือดหรือถ่ายเลือดให้ เป็นต้น

ส่วนกรณีที่ป่วยด้วยเชื้อบาบิเซียและเฮปปาโตซูน จะรักษาด้วยการฉีดยา เช่น กลุ่ม aromatic diamidine (Imidocarb) จำนวนสองครั้ง โดยฉีดห่างกัน 14 วัน แต่ยานี้เป็นสารเคมีซึ่งมีผลข้างเคียงทำให้ไอ น้ำลายไหล จึงจำเป็นต้องให้ร่วมกับในกลุ่ม anticolinergic เพื่อลดผลข้างเคียงดังกล่าว

แต่ไม่ว่าจะติดเชื้อชนิดใดก็ตาม หลังจากการรักษา ก็ควรจะต้องมีการตรวจเลือดซ้ำ เพื่อประเมินสภาพไปเป็นระยะ ๆ ซึ่งโรคพยาธิในเม็ดเลือดนี้ บางเชื้อ เช่น เฮปาโตซูนอาจไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ เนื่องจากเชื้อสามารถซ่อนตัวอยู่ในตับ ม้าม และต่อมน้ำเหลืองได้ เมื่อสัตว์ที่เคยเป็นโรคนี้อ่อนแอลง ก็อาจจะกลับมาป่วยได้อีก

และตราบใดที่ยังมีเห็บอยู่ น้องหมาก็พร้อมที่จะกลับติดเชื้อและป่วยได้ใหม่อีกครั้งเช่นกัน ที่สำคัญ คือ ควรป้อนยาให้ครบตามที่คุณหมอจัดให้ เพราะมีเจ้าของบางท่านที่มักจะหยุดป้อนยาเมื่อน้องหมามีอาการดีขึ้น ซึ่งทำให้การรักษาไม่ได้ประสิทธิภาพ และโรคอาจพัฒนาเป็นแบบเรื้อรังในที่สุด

แต่ที่สำคัญอีกประการคือ การป้องกันไม่ให้เกิดโรค โดยการจำกัดเห็บรักษาความสะอาดน้องหมา ให้ยาฆ่าเห็บสม่ำเสมอและควรให้บริเวณกรงหรือที่อยู่ของน้องหมาสะอาดไม่เป็นแหล่งเพาะเห็บ และหากน้องหมามีอาการเป็นไข้ ซึม เบื่ออาหาร สงสัยจะเป็นโรคพยาธิเม็ดเลือดควรรีบพามาหาหมอโดยเร็ว

Credit kapook.com

 


Tagged in: Untagged 
vrcosplayx porn
web page hit counter