หน้าแรก blog Pet Party รู้จักโรคฮิตในชิวาวา กับโรงพยาบาลสัตว์ตลิ่งชัน

สัปเพเหระ เรื่องหมาๆแมวๆ

picexx01

          สำหรับผู้เลี้ยงสุนัขพันธุ์ชิวาวา สุนัขพันธุ์เล็กที่อาจเล็กที่สุดในโลก คงจะทราบดีว่านอกจากจะฉลาดและจงรักภักดีต่อเจ้าของมากเมื่อเทียบกับสุนัขพันธุ์อื่นๆ แล้ว ยังมีนิสัยสุภาพเรียบร้อย เงียบสงบไม่ค่อยเห่าส่งเสียงรบกวน นอกจากจะถูกรบกวนหรือเห่าเพื่อรักษาที่อยู่อาศัยของตัวเอง นอกจากนี้ยังกล้าหาญ และมีอัธยาศัยไมตรีที่ดีกับสุนัขหรือสัตว์เลี้ยงชนิดอื่น ทำให้มีผู้นิยมเลี้ยงสุนัขพันธุ์นี้จำนวนมาก

          จากคำกล่าวที่ว่า “No breed is perfect” ไม่มีสุนัขสายพันธุ์ไหนในโลกที่สมบูรณ์ที่สุด ทุกสายพันธุ์มีทั้งข้อดีและข้อเสียอยู่ในตัวเอง ชิวาวาก็เป็นอีกสายพันธุ์หนึ่งที่มีทั้งข้อดีและข้อเสียอยู่ในตัวมันเองเช่นกัน สำหรับโรคของชิวาวาที่พบบ่อย อาทิ สภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ หลอดลมตีบ สภาวะสมองบวมน้ำ ฯลฯ ซึ่งเจ้าของสุนัขควรให้ความสนใจเรื่องโรคเหล่านี้ให้มากเป็นพิเศษเพื่อให้น้องหมาห่างไกลโรค เพื่อให้เจ้าของสุนัขพันธุ์ชิวาวาได้มีความรู้เกี่ยวกับโรคฮิตของสุนัขพันธุ์นี้มากขึ้น สำหรับนำไปดูแลป้องกัน ตลอดจนเชิญเจ้าของสุนัขได้มีโอกาสพบปะพูดคุยสังสรรค์เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างกัน ทางโรงพยาบาลสัตว์ตลิ่งชันจึงได้ร่วมกับชมรมชิวาวาแห่งประเทศไทย จัดกิจกรรม “Pet Party: รู้จักโรคฮิตในชิวาวา” ณ โรงพยาบาลสัตว์ตลิ่งชัน

          โดยเชิญกลุ่มผู้เลี้ยงสุนัขชิวาวามาร่วมสังสรรค์ปาร์ตี้ พร้อมพาสุนัขมาร่วมกิจกรรมสนุกมากมาย อาทิ ตรวจสุขภาพเบื้องต้น ตรวจนับเม็ดเลือดโดยทีมสัตวแพทย์ฯ และการประกวดหนุ่ม-สาวชิวาวาที่แต่งกายสวยที่สุดในงาน พร้อมกับการอบรมความรู้เกี่ยวกับโรคฮิตในสุนัขสายพันธ์นี้ จาก นายสัตวแพทย์บูรพงษ์ สุธีรัตน์ แพทย์เฉพาะทางโรคกระดูกและข้อ และสัตวแพทย์หญิงปิโยรส โพธิพงศธร แพทย์เฉพาะทางระบบประสาท  โดยมี 2 โรค คือ

          1. โรคสะบ้าเคลื่อน
          2. โรคสมองบวมน้ำ
          นายสัตวแพทย์บูรพงษ์ สุธีรัตน์ แพทย์เฉพาะทางโรคกระดูกและข้อ กล่าวว่า ลูกสะบ้าเป็นส่วนหนึ่งของโครงสร้างที่ใช้ในการยืดขา สภาวะลูกสะบ้าเคลื่อนคือการที่ลูกสะบ้าซึ่งปกติจะอยู่ในร่องบริเวณหัวเข่ามีการเคลื่อนที่ผิดตำแหน่งและหลุดออกจากร่อง หรือหลุดเข้าด้านในหัวเข่า หรือหลุดออกไปด้านข้างของหัวเข่า ซึ่งสุนัขจากมีอาการต่าง ๆ เช่น เจ็บขาไม่ค่อยลงน้ำหนัก เดินกะเผลกบ่อยขึ้น เดินและยืนแบบผิดปกติเพราะพยายามทิ้งน้ำหนักตัวไปที่ขาหน้าแทน เป็นต้น ส่วนสาเหตุของการเกิดโรค เป็นได้ตั้งแต่กำเนิดหรือเกิดจากการกระทบกระแทก

 

          หากสุนัขเป็นโรคนี้แต่กำเนิดจะถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ ดังนั้นจึงไม่ควรนำสุนัขที่เป็นโรคนี้มาทำเป็นพ่อแม่พันธุ์โดยการวินิจฉัยของสัตวแพทย์จะทำการซักประวัติและการคลำตรวจร่วมกับการเอกซเรย์, CT Scan, MRI สำหรับภาวะลูกสะบ้าเคลื่อนแบ่งออกเป็น 4 เกรด จากเกรด 1 ไม่รุนแรงไปจนถึงเกรด 4 ซึ่งรุนแรงมาก ขึ้นกับว่าลูกสะบ้ามีการเคลื่อนไปมากแค่ไหนและโครงสร้างกระดูกผิดปกติไปมากแค่ไหน เกรดความรุนแรงมักสัมพันธ์กับระดับความเจ็บปวด แต่ไม่เสมอไปทุกราย

          สัตวแพทย์หญิงปิโยรส โพธิพงศธร แพทย์เฉพาะทางระบบประสาท กล่าวว่า โรคน้ำในโพรงสมองมากกว่าปกติเป็นโรคที่พบในสุนัขหลายพันธุ์ ได้แก่ ชิวาวา ปอม ปั๊ก พุดเดิ้ลทอย ยอร์กเชียร์ อาการคือสุนัขจะเดินวนเป็นวงกลม ควบคุมตัวเองไม่ได้ ตาบอด เหม่อลอย ชัก สำหรับชิวาวาที่เป็นโรคนี้มักพบว่ากะโหลกไม่ปิด ตาเหล่ หัวกลมโต โดยสาเหตุมี 2 ประการคือ 1. พันธุกรรม ทำให้เป็นโรคนี้ตั้งแต่อายุยังน้อย แต่ถ้าเป็นมากอาจทำให้เสียชีวิตได้ 2. เกิดจากความผิดปกติของการไหลเวียนของน้ำเลี้ยงสมองและไขสันหลัง ที่ส่งผลให้เกิดการอุดตันและโพรงในสมองขยายขนาดตามมา


          โดยสัตวแพทย์จะวินิจฉัยโรคด้วยการทำอัลตร้าซาวน์ในสุนัขที่กะโหลกบางหรือกะโหลกไม่ปิด แต่วิธีนี้ไม่สามารถบอกความผิดปกติอื่น ๆ ในสมองได้ และไม่สามารถบอกได้ว่าขนาดโพรงสมองยิ่งกว้างยิ่งทำให้โรครุนแรงขึ้น ส่วนวิธีทำ MRI หรือ CT Scan ซึ่งมีค่าใช้จ่ายสูงแต่ก็บอกรอยโรคในสมองและไขสันหลังได้ และการตรวจเลือดเพื่อดูภาวการณ์ติดเชื้อและตรวจหาสาเหตุด้านอื่น สุนัขที่เป็นโรคนี้สามารถรักษาได้ 2 ทางคือ 1. รักษาทางยา ให้ยาขับน้ำหรือยาที่มีผลลดการสร้างน้ำเลี้ยงสมองและไขสันหลัง รวมทั้งการรักษาที่ตัวสาเหตุของโรค 2. วิธีการผ่าตัด เช่นการใส่ท่อระบายจากสมองมาที่ช่องท้อง ซึ่งมีโอกาสติดเชื้อและมีข้อจำกัดหลายด้านในการรักษา

Credit pet.kapook.com

Tagged in: Untagged 
vrcosplayx porn
web page hit counter