"หมารู" แพร่ระบาด


Posted by: picexx01 in บทความทั่วไป on เม.ย. 22, 2011

Tagged in: Untagged 

     

   

     พบหมานับพันตัวกระจายอยู่ทั่วพื้นที่ตำบลบางเสาธง ขุดดินทำเป็นโพรงที่อยู่อาศัย ออกลูกหลานมากมาย

ชาวบ้านเรียก "หมารูขโมยปลาและผลไม้กินประทังชีวิต นายก อบต.เร่งประสานหน่วยงานเกี่ยวข้องแก้ปัญหา

หวั่นประชากรหมารูล้น

      นายอดุลย์ แก้วโบราณ นายก อบต.ศีรษะจรเข้ใหญ่ อ.บางเสาธง จ.สมุทรปราการ กล่าวว่า ในพื้นที่ตำบลศีรษะจรเข้

ใหญ่ ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทางเกษตรกรรมและเลี้ยงปลา ขณะเดียวกันก็พบว่าในพื้นที่มีสุนัขหรือหมาที่ไร้

เจ้าของจำนวนนับพันตัวกระจายอยู่ทั่วพื้นที่ มักขุดรูตามโพรงไม้ ตามพื้นดิน เพื่อทำเป็นที่อยู่อาศัย ออกลูกหลานมากมาย

จนทำให้ชาวบ้านเรียกกันว่า "หมารู

     จากพฤติกรรมที่พบ จะเห็นได้ว่าหมารูที่พักอาศัยในพื้นที่ดังกล่าวได้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม โดยไปขโมยผลไม้ของ

ชาวบ้าน เช่น มะม่วงที่ห้อยลงมา หรือกล้วยที่หล่นตามพื้นดิน รวมทั้งปลาที่ชาวบ้านเลี้ยงไว้ตามบ่อแล้วตาย รวมทั้งอาหาร

ปลาที่ใส่กระสอบไว้ หมารูเหล่านี้จะไปขโมยมาแล้วนำมากลบฝังในดินเก็บไว้ให้ลูกๆ ได้กิน ซึ่งถือว่าเป็นการปรับเปลี่ยน

พฤติกรรมใหม่ เพราะก่อนหน้านี้ไม่เคยพบว่าหมากินผลไม้ แต่ตอนนี้กลายเป็นอาหารอันโอชะของ "หมารูไปแล้ว

     นายก อบต.ยังได้เล่าให้ฟังว่า ปัจจุบันอากาศบ้านเมืองเราวิปริต เดี๋ยวร้อนเดี๋ยวหนาว เดี๋ยวฝนตก หรือบางวันก็มีพร้อม

กันถึง 3 ฤดู จึงทำให้มองได้ว่าสุนัขหรือหมาก็มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเหมือนกัน เท่าที่สังเกตจะพบว่า "หมารูเป็น

หมาที่ไม่มีเจ้าของ และอาศัยขุดโคนต้นไม้หรือขุดดินทำเป็นรู หรือเป็นโพรงเพื่อเป็นที่นอน ออกลูกครั้งละหลายตัว

ชาวบ้านเห็นก็อดสงสารไม่ได้ ต้องไปซื้อข้าวหรือนำอาหารมาให้กิน ซึ่งเป็นที่รู้กันดีอยู่ว่าสุนัขทั่วไปจะผสมพันธุ์ในช่วงเดือน 

12 หรือที่เรียกว่าเดือนติดสัด แต่ตอนนี้พฤติกรรมของสัตว์เหล่านี้ได้เปลี่ยนไป คือสามารถผสมพันธุ์ได้ตลอดเวลา ทำให้

ออกลูกออกหลานมาเป็นจำนวนมาก

      "ปัจจุบันหมาในวัยหนุ่มสาวในช่วงอายุ 6-12 เดือนก็เริ่มผสมพันธุ์กันแล้ว และใช้เวลาตั้งท้องเฉลี่ย 63 วัน ใน

ระยะเวลา 1 ปี สุนัขจะตั้งท้องได้ 2 รอบ จึงทำให้ประชากรของสุนัขเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็ว อีกทั้งในตำบลศีรษะจรเข้

ใหญ่ประชาชนประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก ทำให้การสร้างบ้านเรือนยังไม่นิยมสร้างรั้วให้มิดชิด จึงก่อให้เกิด

ปัญหาหมาเข้าไปทำลายผลผลิตทางการเกษตรของประชาชน บ้างก็วิ่งตัดหน้ารถจักรยานยนต์ ก่อให้เกิดอุบัติเหตุ

บ่อยครั้ง"

      นายอดุลย์กล่าวว่า ปัจจุบันจำนวนหมารูมีมากขึ้นทุกขณะจนก่อให้เกิดปัญหาหลายด้าน หากจะจับไปปล่อยที่อื่นก็

ต้องใช้เงินจำนวนมาก หรือไปจ้างเขาเลี้ยง เท่าที่ทราบมีแหล่งที่เขารับเลี้ยง แต่ต้องจ่ายเงินตัวละ 1,500 บาทต่อตัว

ชาวบ้านคงไม่มีเงินพอที่จะไปจ่าย ดังนั้นตนจะเร่งประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหาทางแก้ไขปัญหาต่อไป.

 

Credit : หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์

</span>